Resources / Study info
การเขียน Personal Statement เข้าเรียนต่อที่แคนาดา
การเขียน SOP หรือจดหมายแนะนำตัว เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยแคนาดา
เมื่อสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในแคนาดา องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของการสมัครคือ Personal Statement หรือจดหมายแนะนำตัวเพื่อชี้แจงเหตุผลที่ต้องการเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยในแคนาดา ซึ่ง SOP จะเป็นสิ่งที่จะได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ แรงบันดาลใจ ประสบการณ์ และคุณสมบัติของนักเรียนที่เหมาะสมกับหลักสูตรหรือสถาบันที่สมัครเรียนต่อ
SOP เพื่อเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแคนาดา ต้องมีอะไรบ้าง?
นอกเหนือไปจากเอกสารทางการศึกษา ผลสอบต่าง ๆ แล้ว จดหมายแนะนำตัว (Personal Statement) ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการสมัครเรียนต่อปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งข้อแนะนำในการเขียนดังนี้
- เป้าหมาย และความคาดหวังทางด้านอาชีพในอนาคต
- ทำไมถึงสนใจหลักสูตร / สาขาวิชานี้
- ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร หรือสาขาวิชา (ถ้ามี)
- ความถนัด หรือความสามารถเฉพาะด้าน จากประสบการณ์การศึกษาที่ผ่านมา
- เหตุผลที่คุณสนใจ และเลือกสมัครเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
- ความสนใจทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะแสดงถึงลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพเชิงบวก
อย่างไรก็ตาม นักเรียนสามารถใส่ข้อมูลทั้งประสบการณ์ในชมรมนอกหลักสูตร ประสบการณ์การทำงาน หรือความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ จะช่วยให้จดหมายแนะนำตัวโดดเด่นยิ่งขึ้น และได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่นั่นเอง
จดหมายแนะนำตัว ควรจะมีความยาวเท่าไหร่?
ความยาวในการเขียนจดหมายแนะนำตัวนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยที่สมัครเรียน สำหรับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีนั้น โดยปกติแล้วจดหมายแนะนำตัว จะมีความยาวประมาณ 300-600 คำ ประมาณด้านหนึ่งของกระดาษ A4 หรือสูงสุด 47 บรรทัด
และสำหรับหลักสูตรสูงกว่าปริญญาตรี บางหลักสูตรอาจต้องใช้คำชี้แจงส่วนตัวความยาว 1,000 คำ แต่จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจน พยายามอย่าใช้อักขระเกินจำนวนที่กำหนด เพื่อให้จดหมายแนะนำตัวมีความน่าสนใจ เนื้อหาที่กระชับ ไม่ยืดเยื้อเกินไป
สาเหตุที่จดหมายแนะนำตัว ไม่ผ่านการคัดเลือก
จดหมายแนะนำตัวเป็นเหมือนหน้าต่างบานแรก ที่จะสร้างความประทับใจต่อมหาวิทยาลัย และเพื่อสร้างความประทับใจที่ดีให้กับคณะกรรมการ นักเรียนต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของจดหมายแนะนำตัว และทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือเพิ่มข้อมูลที่จำเป็น ก่อนที่จะส่งจดหมายแนะนำตัวของคุณไปยังมหาวิทยาลัย
- จดหมายแนะนำตัวมีข้อความที่สั้น หรือยาวเกินไป
- จดหมายแนะนำตัวตกหล่นข้อมูลสำคัญ และรวมถึงมีข้อมูลเชิงลบ
- จดหมายแนะนำตัวมีโครงสร้างที่สับสน
ข้อสำคัญ คือต้องไม่โกหกเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว และประวัติการศึกษาของคุณ เพราะเมื่อไปถึงขั้นตอนพูดคุยสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ เขาจะซักถามนักเรียนเกี่ยวกับข้อมูลที่เราได้เขียนไปนั่นเอง
เทคนิคการเขียนจดหมายแนะนำตัว
- เชื่อมโยงความสนใจ และความหลงใหลของตัวเองเข้ากับหลักสูตร หรือสาขาวิชาที่สนใจ
- เขียนด้วยความจริงใจ แต่อย่าใส่ข้อมูลเชิงลบ
- อย่าพยายามเขียนแต่ข้อดีจนเกินจริง
- เตรียมจดหมายแนะนำตัว และส่งภายในระยะเวลาเนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยให้ระยะเวลากระชั้นชิด
- สามารถให้คนใกล้ตัวอย่างเพื่อน-ครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบการสะกดคำ
- อย่าทำซ้ำเนื้อหาจาก CV หรือเรซูเม่
ในจดหมายแนะนำตัว พยายามเขียนให้ชัดเจน กระชับ แนะนำให้อยู่ในช่วง 5 ย่อหน้า และควรใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ แต่สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการเลือกฟอนต์ตัวอักษร และขนาดเช่นฟอนต์ให้เป็น Arial หรือ Times New Roman ขนาด 12 เพื่อให้ดูเป็นระเบียบ และเหมาะสม
หากต้องการความช่วยเหลือ ในการเขียนจดหมายแนะนำตัว (Personal Statement)
สำหรับนักเรียนที่เขียนจดหมายแนะนำตัวเรียบร้อยแล้ว สามารถนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ SI-Canada เราพร้อมช่วยเหลือเพื่อให้คำแนะนำ แก้ไข ตรวจทานข้อความภาษาอังกฤษ เพื่อให้มีความชัดเจน และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์