Statement of Purpose หรือ SOP คือการเขียนเรียงความเพื่อเป็นการแนะนำตัวเราให้ทางมหาวิทยาลัยรู้จักมากขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญมากในการพิจารณารับเข้าเรียนต่อในต่างประเทศ ดังนั้น SI-UK จึงขอแนะนำเทคนิคการเขียน SOP ที่จะทำให้โปรไฟล์คุณดูโดดเด่น และเข้าตากรรมการนั่นเอง
Preparation – การเตรียมความพร้อม
หาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย และสาขาที่ต้องการจะศึกษาต่อใน website ของมหาวิทยาลัย ว่าเขามีความต้องการนักเรียนประเภทไหนเข้าเรียนต่อในวิชานั้น ๆ
จดบันทึกสิ่งที่ต้องการจะเขียนใน Personal Statement เช่น Future career Objective, Previous Studies, Work Experience, How will I be successful in The course, Academic Objective เป็นต้น
What to include – สิ่งที่ต้องมีอยู่ใน Statement of Purpose
ความสนใจในการศึกษาต่อในวิชาหรือสาขานั้น ๆ
โยงความสัมพันธ์การเรียนต่อจาก Undergraduate ว่าทำไมถึงอยากศึกษาต่อในสาขานี้
อธิบายว่าประสบการณ์การทำงานของคุณนั้นเกี่ยวข้องกับการศึกษาต่ออย่างไร
แสดงให้เห็นว่าเรานั้นเหมาะกับมหาวิทยาลัยอย่างไร ทำไมมหาวิทยาลัยนั้นจะต้องรับเราเข้าศึกษาต่อ
งานอดิเรก และสิ่งที่สนใจในการศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร
ประกาศนียบัตร หรือความสามารถพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อ (หากมี)
How to write it – วิธีการเขียน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้
Introduction: เรียกได้ว่าเป็นการเปิดตัวโดยเขียนให้กระชับและน่าสนใจ ทำให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อ
Body: ในส่วนนี้จะต้องเขียนเกี่ยวกับตนเอง จุดประสงค์ในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยแยกออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
Part 1: Future career Objective อยากจะทำอะไรในอนาคต
Part 2: Previous Studies ประวัติการเรียนต่างๆ โดยเขียนย้อนหลังถึงมัธยมปลาย
Part 3: Work Experience ประสบการการทำงาน
Part 4: How will I be successful in The course สิ่งที่เราคิดว่าเราจะได้ทำให้มหาวิทยาลัยในขณะที่เรียนต่อ เช่น จะใช่ความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ในการเรียนและ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมคลาสเรียน
Part 5: Academic Objective สิ่งที่จะได้รับจากการเรียนต่อ
Conclusion: เป็นการสรุปโดยรวม ปิดการขาย ว่าเราอยากศึกษาต่อที่นั่นจริง ๆ และเราเหมาะสมที่จะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เป็นอย่างมาก หลังจากที่เขียนเสร็จแล้ว ให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายสักพักก่อน และกลับมาอ่านใหมเพื่อตรวจสอบในเรื่องของไวยากรณ์ และตัวสะกดให้เรียบร้อย ซึ่งการเขียนที่ดีนั้นจะต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และดูเป็นมืออาชีพ
Technical Details – เทคนิคต่าง ๆ ที่ควรจะใช้ในการเขียน
ความยาวของการเขียนนั้นจะอยู่ที่ประมาน 4,700 ตัวอักษร หรือ 47 บรรทัด
มั่นใจว่าไม่ได้มีการ Copy มาจาก Internet เด็ดขาด เพราะมหาวิทยาลัยจะนำ Statement of Purpose ของนักเรียนที่จะเข้าศึกษาต่อเข้าไปเช็คในระบบ เพื่อตรวจสอบหา Plagiarism ซึ่งถ้าหากตรวจพบการคัดลอดข้อมูลงานเขียนดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยก็จะทำการยกเลิก หรือปัดตกทันที
ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะทำให้การเขียน Personal Statement นั้นง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหากคุณยังไม่ค่อยมั่นใจในการเขียน Statement of Purpose ก็สามารถใช้บริการช่วยเหลือกับ SI-UK ทางด้าน Personal statement โดยทาง SI-UK จะเช็คเรื่องการเรียงลำดับ โครงสร้าง ประโยค และสำนวนในการเขียน รวมไปถึงการตรวจสอบ Grammar ให้อีกด้วย เพียงติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อของ SI-UK พร้อมทั้งสามารถ ค้นหาตัวอย่างการเขียนได้ที่นี่
Study in the UK
สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวการเรียนต่ออังกฤษ เช่น หลักสูตร คุณสมบัติ และขั้นตอนการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศอังกฤษ สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของ SI-UK ฟรี! ได้ตั้งแต่วันนี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ลงทะเบียนรับคำปรึกษา ฟรี
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Checklist !! เอกสารสมัครเรียนต่ออังกฤษ มีอะไรบ้างนะ?
12 วิธี ทำให้การเขียน Essay ง่ายขึ้นและผิดพลาดน้อยลง