เป็นที่ทราบกันดีว่า การจะได้เข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่า มหาวิทยาลัยเหล่านี้ ยกตัวตัวอย่าง เช่น ออกซ์ฟอร์ด และ เคมบริดจ์ มีขั้นตอนของการคัดเลือกผู้สมัครเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
และนี่คือ 5 สิ่งที่น้อง ๆ อาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับการสมัครเรียนที่ ออกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในกลุ่ม Oxbridge ที่เรารวบรวมมาฝากกัน
1. ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับเรื่องของความสามารถทางวิชาการทั้งสิ้น
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดระหว่างการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับความสามารถทางวิชาการหรือผลการเรียน แม้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จะไม่ได้มีผลคะแนน A Level ที่ A* A* A* กันทุกคน แต่เชื่อเถอะว่า ส่วนใหญ่แล้วคือคนที่ทำได้นั้นแหละ โดยที่ออกซ์ฟอร์ด ผลเฉลี่ยของ A Level จะอยู่ที่ระหว่าง A*A*A และ AAA ในขณะที่เคมบริดจ์คือ A*AA
ขณะที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ อาจจะ offer ที่เรียนให้น้อง ๆ โดยพิจารณาจากทักษะทางด้านอื่น ๆ ความสนใจพิเศษ หรือประสบการณ์ที่น้อง ๆ มี ฯลฯ แต่ที่มหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ผลการเรียน ความกระตือรือร้นและความทะเยอทะยาน คือสิ่งคณะกรรมการมองหาจากผู้สมัครเป็นหลัก (ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ A-Level)
2 มีการประเมินที่มากกว่าเรื่องของเกรดและข้อมูลจาก UCAS
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะใช้ผล A- Level (หรืออื่น ๆ ) ที่คาดว่าจะได้ และข้อมูลจากแบบฟอร์มของ UCAS เพื่อพิจารณาการ offer ให้นักเรียน แต่สำหรับมหาวิทยาลัยในกลุ่ม Oxbridge ต้องมีมากกว่านั้น
ยกตัวอย่างที่ เคมบริดจ์ ที่มีการให้ผู้สมัครกรอกแบบสอบถามเพิ่มเติม หรือ Supplementary Application Questionnaire (SAQ) ในส่วนของ UCAS และจะมีการวัดการวัด AS modules และ UMS marks (การวัดเปรียบเทียบรายวิชา A- Level ที่นักเรียนทำได้ ผ่านการทดสอบแบบต่างๆ เพื่อหามาตรฐานของคะแนน) ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2017 – 2018 เป็นต้นไป โดยเคมบริดจ์จะนำการทดสอบแบบใหม่นี้เพิ่มเข้าไปในขั้นตอนการสอบสัมภาษณ์ทุกหลักสูตร เช่นเดียวกับที่เคยทำมาแล้วในหลักสูตร แพทยศาสตร์ และสัตว์แพทยศาสตร์ ก่อนหน้านี้
ส่วนที่ออกซ์ฟอร์ด แม้จะไม่ได้นำคะแนน AS มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือก หรือมี SAQ เมือนเคมบริดจ์ แต่ก็มีการให้ผู้สมัครในหลายหลักสูตรทำข้อสอบเพื่อวัดผลเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ทั้งสองมหาวิทยาลัยยังอาจขอให้ผู้สมัครบางรายส่ง coursework paper หรืองานนิพนธ์ มาพร้อมกับใบสมัครด้วยอีกต่างหาก (UCAS คืออะไร อ่านเพิ่มเติม)
3. Personal Statement ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด
Personal Statement หรือจดหมายแนะนำตัว เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยให้คณะกรรมการของมหาวิทยาลัยได้รู้จักน้องๆ ได้เห็นแบ็คกราวน์ทางการศึกษา และสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ ความพร้อมและการเตรียมตัวในการเข้าเรียนในหลักสูตรนั้นๆ
แต่ในขณะที่มหาวิทยาลัยทั่วไปใช้ Personal Statement เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา แต่มหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge กลับเลือกให้ความสำคัญกับคะแนนสอบ การสอบสัมภาษณ์ และ coursework paper มากกว่า
สำหรับมหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ส่วนใหญ่จะใช้ Personal Statement เป็นไกด์ในการสอบสัมภาษณ์ ดังนั้น เพื่อป้องกันการโป๊ะแตก ขอให้น้องๆ ระมัดระวังในการเขียนจดหมายแนะนำตัว ขอให้แน่ใจว่าสิ่งที่ปรากฏในนั้นทุกอย่างเป็นเรื่องจริงทุกประการ (Personal Statement คืออะไร คลิกเพื่อศึกษาเพิ่มเติม)
4. รูปแบบของการสัมภาษณ์เข้าเรียน มักมีลักษณะคล้ายๆ การ tutorials หรือ supervisions
อย่างที่น้อง ๆ อาจทราบกันบ้างแล้วว่า ที่ออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ จะมีคลาสพิเศษสำหรับนักศึกษาที่มีผลงานโดดเด่น โดยเป็นการเรียนแบบตัวต่อตัวหรือคลาสเล็ก ๆ กับผู้เชี่ยวชาญ ที่เรียกกันว่า tutorials (ในออกซ์ฟอร์ด) หรือ supervisions (ที่ เคมบริดจ์)
เช่นเดียวกัน การสัมภาษณ์ผู้สมัครเข้าศึกษาในทั้งสองสถาบัน มักจะนำรูปแบบของการเรียนการสอนดังกล่าว มาปรับใช้ในการสัมภาษณ์ด้วย เพื่อดูว่า ผู้สมัครมีความเหมาะสมกับการเรียนแบบ tutorials หรือ supervisions หรือไม่
การสอบสัมภาษณ์ที่เคมบริดจ์ มักจัดขึ้นในวิทยาลัยใดวิทยาลัยหนึ่ง และใช้เวลา 1 วันในการสัมภาษณ์ผู้สมัครทั้งหมด แต่ที่ออกซ์ฟอร์ดจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน และผู้เข้ารับการสัมภาษณ์อาจถูกเรียกไปสัมภาษณ์ในหลายสถานที่ซึ่งแตกต่างกัน
5. ไม่ใช่แค่การเลือกมหาวิทยาลัย เราต้องเลือกวิทยาลัยที่จะอยู่ด้วย
ออกซ์ฟอร์ด และ เคมบริดจ์ เป็นสองในมหาวิทยาลัยที่มีโครงสร้างแบบสหวิทยาลัย (เช่นเดียวกับที่ Durham, York และที่อื่น ๆ) วิทยาลัยจะเป็นเหมือนบ้านสำหรับนักศึกษาแต่ละคน ซึ่งจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่นั่นตลอดจนจบการศึกษา
เราสามารถเลือกวิทยาลัยใดก็ได้ในการสมัคร แต่สิ่งที่น้อง ๆ ควรทราบคือ ใช่ว่าทุกคนจะได้วิทยาลัยที่ตัวเองต้องการเสมอ การเลือกวิทยาลัยนั้นจะขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่น้อง ๆ ต้องการเข้าศึกษาเป็นหลัก หากน้อง ๆ ไม่สามารถเลือกวิทยาลัยที่ต้องการได้จริง ๆ ก็สามารถส่งใบสมัครแบบ open application ได้เช่นกัน โดยให้คอมพิวเตอร์คำนวณวิทยาลัยที่เหมาะสมให้
จากเว็บไซต์ของออกซ์ฟอร์ด มีสถิติที่น่าสนใจของผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียน คือ 1 ใน 5 มักจะได้วิทยาลัยที่ตัวเองไม่ได้เลือกไว้ตั้งแต่แรก เช่นเดียวกับนักศึกษาที่เคมบริดจ์ ที่สุดท้ายไปลงเอยในวิทยาลัยที่ตนไม่ได้เลือกมากถึง 25 %
Study in the UK
สำหรับใครที่มีความฝัน หรือมุ่งมั่นที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของสหราชอาณาจักร อย่าง ออกซ์ฟอร์ด เคมบริดจ์ หรือที่อื่น ๆ รวมทั้งสนใจอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร สามารถขอรับคำปรึกษาฟรีได้จาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร หรือใช้บริการ Oxbridge Service ของ SI-UK เพื่อเตรียมความพร้อมในการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ได้เช่นกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำไมมหาวิทยาลัยในกลุ่ม Oxbridge จึงได้รับการยอมรับในแวดวงการศึกษาอย่างสูง
Oxford กับ Cambridge: ความเหมือนและความต่างของสองมหาวิทยาลัยที่ทรงอิทธิพลที่สุดใน UK
ทำไม University of Cambridge จึงเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
Take the first step towards studying abroad!
ความประทับใจ นักเรียนของเรา
น้องไทม์
แชร์ประสบการณ์ดีๆ กับบริการที่ได้รับ
น้องปันปัน
รีวิวความเอาใจใส่และคุณภาพการบริการ
น้องใบเตย
แบ่งปันประสบการณ์การใช้บริการ
น้องมิ้นต์
รีวิวความประทับใจในบริการ
น้องเจนนี่
ความรู้สึกหลังได้รับบริการ
น้องกาย
แชร์ความรู้สึกหลังได้รับบริการ
น้องผู้ร่วมงาน
บอกต่อความประทับใจในงานแฟร์
Priyal
On working with StudyIn counsellors