SI-UK รวมทุกทริคการเขียน SoP มาให้ไว้ที่นี่แล้ว เพราะการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น Personal Statement หรือการเขียนจดหมายเเนะนำตัว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักที่สำคัญในการสมัครเข้าศึกษาต่อ เพราะนักศึกษาหลายคนอาจจะมีผลการเรียนและเคยมีประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้โดดเด่นมากกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นการเขียน Personal Statement อย่างไรให้โดนใจกรรมการนั่นเอง

ควรเขียนอะไรบ้างใน Personal Statement?

สิ่งแรกที่ควรทำความเข้าใจก่อนนั่นก็คือการเขียน Personal Statement นั้นไม่ใช่การเขียนอธิบายประวัติส่วนตัวทั้งหมด แต่ให้โฟกัสไปที่การเขียนถึงประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนหรือที่ทำงานโดยพยายามเขียนให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับหลักสูตรที่สมัครเรียนต่อให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าที่ผ่านมาหากน้อง ๆ มีประสบการณ์ในการทำงานหรือการเรียนที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กับหลักสูตรที่จะสมัครเรียนต่อก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะน้อง ๆ สามารถเขียนอธิบายคุณสมบัติเฉพาะตัวที่จะทำให้น้องนั้นเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับการเข้าศึกษาต่อได้เช่นกันค่ะ

อีกสิ่งหนึ่งในการเขียน Personal Statement ที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การเขียนให้คณะกรรมการได้เห็นว่าน้องนั้นมีความกระตือรือร้นกับคณะที่จะเข้าเรียนต่อ ดังนั้นการหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น ประวัติความเป็นมาตั้งแต่อดีต จุดเด่นของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะและหลักสูตร ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่น้อง ๆ ควรจะทำเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อยๆ อีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ Personal Statement ของน้องดูดีเป็นมืออาชีพนั่นก็คือการเลือกแบบอักษร หรือ Font โดยให้เลือกเป็น Arial หรือ Times New Roman ซึ่งจะใช้ขนาดของตัวอักษรอยู่ที่ 11 หรือ 12

ความยาวในการเขียน Personal Statement

สำหรับความยาวในการเขียน Personal Statement นั้นโดยส่วนมากจะถูกกำหนดจากมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่ง ซึ่งสำหรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 400 – 600 คำ ประมาณ 4 – 5 ย่อหน้า ภายในหนึ่งหน้ากระดาษ A4 แต่สำหรับการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทอาจจะต้องเขียนประมาณหนึ่งหน้ากระดาษ อย่างไรก็ตามก็ควรตรวจสอบกับทางมหาวิทยาลัยว่ากำหนดความยาวไว้เท่าไหร่ ก่อนที่จะลงมือเขียน

รูปแบบในการเขียน Personal statement

  • จุดมุ่งหมายในอาชีพในอนาคต
  • มีความสนใจในคณะและสาขานี้มากน้อยเพียงใด
  • ที่ผ่านมาได้ทำอะไรมาบ้างเพื่อเป้าหมายในอนาคต
  • เหตุผลที่สมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้
  • จะใช้สิ่งที่ได้เรียนมาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เช็คลิสต์ส่วนสำคัญของ Personal Statement

  • ใช้รูปแบบอักษร Arial หรือ Times New Roman
  • ขนาดของอักษรประมาณ 11 หรือ 12
  • ประมาณ 4-5 Paragraph
  • ใน Personal Statement ควรเขียนเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
  • หลีกเลี่ยงการเขียนสิ่งต่าง ๆ ในเชิงลบ
  • อย่าเขียนเนื้อหาที่ซ้ำกับ Resume 
  • ควรเขียนให้อยู่ในหนึ่งหน้ากระดาษ A4 เว้นแต่ว่าหลักสูตรนั้นจะกำหนดให้ผู้สมัครเขียนมากกว่า หรือน้อยกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ A4

Study in the UK

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ ใน UK สามารถขอรับคำแนะนำจากพี่ ๆ SI-UK ได้ฟรี! ตั้งแต่วันนี้ค่ะ